ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' ตีนกา ๑ '

    ตีนกา ๑  หมายถึง น. เครื่องหมายกากบาทมีรูปดังนี้ + หรือ x, ไม้จัตวามีรูปดังนี้ ?; เรียกรอยย่นซึ่งปรากฏที่หางตามีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้นว่า ตีนกา.

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • ตีนกา ๒, ตีนครุ

    [–คฺรุ] น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ + สําหรับบอกจํานวนเงิน เส้นดิ่งข้างบนเป็นหลักชั่ง เส้นดิ่งข้างล่างเป็นหลักไพ มุมบนด้านซ้ายเป็นหลักตําลึง มุมบนด้านขวาเป็นหลักบาท มุมล่างด้านซ้ายเป็นหลักเฟื้อง มุมล่างด้านขวาเป็นหลักสลึง เช่น อ่านว่า ๕ ชั่ง ๔ ตําลึง ๓ บาท๒ สลึง ๑ เฟื้อง ๒ ไพ, เฉพาะจํานวนตําลึง บาท สลึงเฟื้อง อาจเขียนย่อแต่เพียงมุมใดมุมหนึ่งที่ต้องการก็ได้เช่น (ตัวอักขระพิเศษ) = ๔ ตําลึง (ตัวอักขระพิเศษ) =๓ บาท (อักขระพิเศษ) = ๒ สลึง (อักขระพิเศษ) = ๑เฟื้อง, ปัจจุบัน แพทย์แผนโบราณยังใช้เครื่องหมายตีนกาหรือตีนครุเป็นมาตราชั่งเฉพาะที่เกี่ยวกับเครื่องยาเท่านั้น.(รูปภาพ)

  • ตีนกา ๒, ตีนครุ

    [–คฺรุ] น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ + สําหรับบอกจํานวนเงิน เส้นดิ่งข้างบนเป็นหลักชั่ง เส้นดิ่งข้างล่างเป็นหลักไพ มุมบนด้านซ้ายเป็นหลักตําลึง มุมบนด้านขวาเป็นหลักบาท มุมล่างด้านซ้ายเป็นหลักเฟื้อง มุมล่างด้านขวาเป็นหลักสลึง เช่น อ่านว่า ๕ ชั่ง ๔ ตําลึง ๓ บาท๒ สลึง ๑ เฟื้อง ๒ ไพ, เฉพาะจํานวนตําลึง บาท สลึงเฟื้อง อาจเขียนย่อแต่เพียงมุมใดมุมหนึ่งที่ต้องการก็ได้เช่น (ตัวอักขระพิเศษ) = ๔ ตําลึง (ตัวอักขระพิเศษ) =๓ บาท (อักขระพิเศษ) = ๒ สลึง (อักขระพิเศษ) = ๑เฟื้อง, ปัจจุบัน แพทย์แผนโบราณยังใช้เครื่องหมายตีนกาหรือตีนครุเป็นมาตราชั่งเฉพาะที่เกี่ยวกับเครื่องยาเท่านั้น.(รูปภาพ)

  • ตีนคู้

    น. ชื่อเรียกสระอู.

  • ตีนจก

    น. ชื่อเชิงซิ่นที่ทอจกลายโดยใช้ขนเม่นควักและใช้ด้ายหรือไหมสอดลาย แล้วนํามาเย็บติดกับซิ่น, เรียกผ้าที่มีเชิงเช่นนั้นว่า ผ้าตีนจก.

  • ตีนตะขาบ

    น. เรียกรถชนิดหนึ่งซึ่งขับเคลื่อนด้วยสายพานสามารถขับเคลื่อนไปในภูมิประเทศที่เป็นทุ่งนาป่าเขาได้ดีกว่ารถที่ใช้ล้อธรรมดา.

  • ตีนถีบปากกัด

    (สํา) ว. มานะพยายามทํางานทุกอย่างเพื่อปากท้องโดยไม่คํานึงถึงความเหนื่อยยาก, ปากกัดตีนถีบ ก็ว่า.

  • ตีนเท่าฝาหอย

    (สํา) น. เด็กทารก.

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒